name

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำคบ

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

นวัตกรรมเด่น



นวัตกรรม “กิโลชั่งน้ำหนักสำหรับเด็กเล็ก”
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำคบ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก

หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันการเจ็บป่วยในเด็กมีมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นเด็กตามชนบทหรือในเมืองใหญ่ๆ เพราะเด็กมีภูมิร่างกายต่ำและไวต่อการรับโรค โดยเฉพาะโรคระบบทางเดินหายใจ ซึ่งจะเห็นได้ว่าตามสถานบริการด้านสาธารณสุขเกือบทุกแห่งผู้มารับการรักษาจึงเป็นเด็กมากกว่าผู้ใหญ่  และปัญหาที่พบในเด็กคือการขึ้นชั่งน้ำหนักบนกิโล เป็นการยากเพราะเด็กกลัวกิโล โดยเฉพาะเด็กเล็ก ซึ่งมีผลต่อการนำน้ำหนักมาคำนวณขนาดของโด๊สยาสำหรับจ่ายให้เด็กรับประทาน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำคบ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ได้สังเกตเห็นว่าเด็กที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และต้องชั่งน้ำหนักเพื่อบันทึกข้อมูลประวัติส่วนตัวเบื้องต้น เหมือนจะยากลำบากมากเพราะเด็กเกิดความกลัวกิโลชั่งน้ำหนัก  ไม่กล้าขึ้นไปยืนคนเดียวหรือยืนชั่งก็เอนเอียงไปมาทำให้อ่านค่าน้ำหนักลำบาก โดยเฉพาะในวันคลินิกต่างที่เกี่ยวกับเด็ก เช่น การตรวจพัฒนาการเด็ก การฉีดวัคซีนให้ภูมิคุ้มกันโรค และอีกส่วนหนึ่งก็จะเป็นเด็กที่มาด้วยอาการเจ็บป่วย เช่น ไข้ ไอ เจ็บ คอ ทำให้การซักประวัติและบันทึกการตรวจร่างกายของเด็กไม่สะดวกเท่าที่ควร ประกอบกับการให้บริการด้านการรักษาพยาบาลต้องมีการจ่ายยาและคำนวณยาให้เหมาะสมกับน้ำหนักตัวเด็กด้วย ซึ่งถ้าเด็กไม่ได้รับการชั่งน้ำหนักแล้วการรักษาและการจ่ายยาก็จะไม่ถูกต้องตามขนาดของยาที่เด็กควรจะได้รับได้ อาจทำโรคที่เป็นอยู่ไม่หายเป็นปกติและเกิดอาการดื้อยาหรือเกิดผลข้างเคียงอื่นๆที่จะตามมา
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำคบจึงได้คิดค้นนวัตกรรมประยุกต์ใช้กิโลชั่งน้ำหนักทั่วไปชนิดวางกับพื้น เข้ากับของเล่นตัวการ์ตูนที่เป็นม้านั่งและรถนั่งเพื่อให้เด็กชั่งน้ำหนักได้ง่ายขึ้น เป็นการสร้างแรงจูงใจและลดความหวาดกลัว หวาดระแวงของเด็กได้อีกทางหนึ่ง  โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่ากิโลชั่งน้ำหนักสำหรับเด็กนี้ จะเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ช่วยให้ปัญหาการชั่งน้ำหนักในเด็กเล็กหมดไปหรือลดน้อยลง

วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เด็กอยากชั่งน้ำหนัก
2. เพื่อลดความหวาดกลัวของเด็กต่อการขึ้นชั่งกิโลของเด็ก
3. เพื่อให้ง่ายต่อการชั่งน้ำหนักเด็กในชุมชนของเจ้าหน้าที่ และ อสม.

วิธีการดำเนินงาน
วัสดุอุปกรณ์
1. กิโลชั่งน้ำหนักแบบวางกับพื้น
2. ของเล่นเด็กตัวการ์ตูนที่เป็นม้านั่ง รถนั่ง
3. น็อตหรือสกรูขัน
4. เหล็กนิ้ว ยาว 80 เซนติเมตร


สิ่งที่เป็นนวัตกรรม
            ประยุกต์ใช้กิโลช่างน้ำหนักทั่วไปเข้ากับตัวตัวการ์ตูนที่เป็นม้านั่งและรถนั่ง เพื่อให้เด็กชั่งน้ำหนักได้ง่ายขึ้น เป็นการสร้างแรงจูงใจและลดความหวาดกลัวของเด็กไดอีกทางหนึ่ง 

จุดเด่นของนวัตกรรม
            1. เป็นการนำของที่มีใช้อยู่ตามโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น
            2. ลดความหวาดกลัว สร้างแรงจูงใจ และกระตุ้นให้เด็กอยากชั่งน้ำหนักมากขึ้น
           
กิจกรรมการดำเนินงาน (วิธีการใช้)
1.       ให้เด็กขึ้นชั่งกิโลได้ทันที เพราะตุ๊กตาตั้งอยู่บนกิโลอยู่แล้ว โดยให้เด็กนั่งค่อมบนตุ๊กตา แล้วเอาเท้าวางบนกิโลอ่านค่าของกิโลได้เลยไม่ต้องบวกน้ำหนักเพิ่ม
2.       ใช้เฉพาะเด็กที่มีอายุไม่เกิน 4-5 ปี (น้ำหนักไม่เกินน้ำหนักลิมิตของเครื่องชั่ง)
3.       สามารถนำไปชั่งน้ำหนักเด็กในหมู่บ้านได้ หรือใช้ชั่งน้ำหนักเด็กที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในวันคลินิกต่างๆ
4.       เมื่อไม่ต้องการใช้งานสามารถถอดออกจากกิโลได้  และถ้าต้องการใช้ก็สามารถประกอบใหม่ได้ทันที ไม่ยุ่งยาก

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.       เด็กที่กลัวไม่กล้าชั่งน้ำหนักและชั่งยาก ก็สามารถชั่งได้โดยง่ายไม่มีปัญหา
2.       เจ้าหน้าที่ และ อสม.เกิดความสะดวกสบายในการนำไปใช้งานในชุมชน

ผลการดำเนินงาน
จากผลการดำเนินงานพบว่า ผู้ปกครองเด็กส่วนใหญ่มีความพึงพอใจเป็นอย่างมาก ที่เครื่องชั่งชั่งน้ำหนักชนิดนี้สามารถทำให้บุตรหลานของตัวเอง มีความอยากที่จะขึ้นไปนั่งและได้รับการชั่งน้ำหนักที่สะดวกและง่ายต่อการอ่านค่าน้ำหนัก อีกทั้งยังเป็นของเล่นไปในตัว อีกทั้งยังสร้างแรงจูงใจให้เด็กอยากชั่งน้ำหนัก ลดความหวาดกลัวของเด็กต่อการขึ้นชั่งกิโล และง่ายต่อการชั่งน้ำหนักเด็กในชุมชนของเจ้าหน้าที่ และ อสม

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาที่ต่อเนื่อง
1.       ควรให้มีการจัดทำที่วัดส่วนสูงในอุปกรณ์อันเดียวกันเพื่อใช้ค่าในการแปรผลภาวะโภชนาการ
2.       จัดหาอุปกรณ์ของเล่นที่น่าสนใจเช่นรูปสัตว์ ตุ๊กตา มาทำ เพื่อจะได้ให้เกิดความหลากหลายมากขึ้น
3.       ให้ อสม.ในชุมชนจัดทำไว้ประจำหมู่บ้าน เพื่อใช้สำหรับการชั่งน้ำหนักเด็กประจำงวด

สรุปแบบประเมินความพึงพอใจผู้ใช้นวัตกรรม
กิโลชั่งน้ำหนักสำหรับเด็กเล็ก
(…..) ก่อนดำเนินงาน    (../..) หลังดำเนินงาน
วันที่...30 สิงหาคม 2554.....

จำนวนตัวอย่าง  ทั้งหมด 46 ตัวอย่าง
-          ตัวอย่าง ของผู้รับผลงาน จำนวน  46  ตัวอย่าง

ตอนที่ 1          ด้านสถานภาพของผู้กรอกแบบสำรวจ
อายุ เฉลี่ย....42......ปี
อาชีพ ส่วนใหญ่....เกษตรกรรม ร้อยละ  93.52
การศึกษา ส่วนใหญ่........ประถมศึกษา ร้อยละ  89.36

ตอนที่ 2          ด้านความพึงพอใจต่อ นวัตกรรมการให้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำคบ
    
ด้านความพึงพอใจมากที่สุด คือ
อันดับที่ 1        - นวัตกรรมทำให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ ไม่ฟุ่มเฟือย    
  ร้อยละ 96.00
                              - นวัตกรรมทำให้บริการเกิดความสะดวกและรวดเร็ว ร้อยละ 95
อันดับที่ 2        - นวัตกรรมทำให้บริการที่ท่านได้รับจากการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีคุณภาพ
                               ร้อยละ 94.20

ด้านความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ
อันดับที่ 1        - นวัตกรรมทำให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีความต่อเนื่องในการให้บริการ  ร้อยละ 91.72
อันดับที่ 2        - นวัตกรรมทำให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสื่อสารสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้รับบริการ ร้อยละ
  90.47



ผลสรุปความพึงพอใจต่อนวัตกรรม
จากการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจต่อนวัตกรรม กิโลชั่งน้ำหนักสำหรับเด็กเล็ก ของผู้ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2554 ถึง 30 สิงหาคม 2554 โดยมีผู้ตอบ แบบสอบถามจำนวน 46 คน พบว่ามีระดับความพึงพอใจโดยรวม ร้อยละ 93.38


สรุปแบบประเมินความพึงพอใจนวัตกรรม สำหรับผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
  กิโลชั่งน้ำหนักสำหรับเด็กเล็ก
วันที่...30 สิงหาคม 2554.....

จำนวนตัวอย่าง  ทั้งหมด 4  ตัวอย่าง
-          ตัวอย่าง ของผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน  4  ตัวอย่าง

ตอนที่ 1          ด้านสถานภาพของผู้กรอกแบบสำรวจ
อายุ เฉลี่ย....40......ปี
อาชีพ ....รับราชการ  ร้อยละ  100
การศึกษา        1) ปริญญาตรี ร้อยละ  40         2) ปริญญาโท ร้อยละ 60

ตอนที่ 2          ด้านความพึงพอใจต่อ นวัตกรรม ของผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล    
ด้านความพึงพอใจมากที่สุด
อันดับที่ 1        - นวัตกรรมทำให้บริการเกิดความสะดวกและรวดเร็ว   ร้อยละ 100
อันดับที่ 2        - นวัตกรรมทำให้ศูนย์สุขภาพชุมชนสื่อสารสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้รับบริการ ร้อยละ    
                     95.00
- นวัตกรรมทำให้บริการที่ท่านได้รับจากการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีคุณภาพ   
  ร้อยละ 95.00

ด้านความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ
อันดับที่ 1        - นวัตกรรมทำให้บริการเป็นไปตามกำหนดเวลาราชการและ/หรือเวลาที่ประกาศ    
                     ร้อยละ 90.00
อันดับที่ 2        - นวัตกรรมทำให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีความต่อเนื่องในการให้บริการ ร้อยละ 90.00



ผลสรุปความพึงพอใจต่อนวัตกรรม
จากการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจต่อนวัตกรรม กิโลชั่งน้ำหนักสำหรับเด็กเล็ก ของผู้ปฏิบัติในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2554 ถึง 30 สิงหาคม 2554 โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 4 คน พบว่ามีระดับความพึงพอใจโดยรวม ร้อยละ 94.00



แบบสำรวจความพึงพอใจผู้ใช้นวัตกรรม
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำคบ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก

คำชี้แจง
การสำรวจข้อมูลนี้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา นวัตกรรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำคบ โปรดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อันจะนำผลไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการบริการ ให้ก้าวหน้าและเป็นประโยชน์แก่ประชาชนให้มากยิ่งขึ้น
ตอนที่ 1          เป็นการสอบถามข้อมูลในด้านสถานภาพของผู้กรอกแบบสำรวจ
ตอนที่ 2          เป็นแบบสอบถามความพึงพอใจต่อนวัตกรรมการให้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
คะแนนความพึงพอใจแยกเป็น ระดับ คือ
มากที่สุด = 5    มาก = 4         ปานกลาง= 3       น้อย = 2              น้อยที่สุด = 1    

ตอนที่ 1
อายุ………….…………….ปี    อาชีพ……………………………………    การศึกษา……………..........................
สถานภาพ                 (   ) ผู้ปฏิบัติในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล              (   ) ผู้รับบริการ

ตอนที่ 2
โปรดใส่เครื่องหมาย / ในช่องที่ตรงกับความเห็นของท่าน
กรณีผู้ตอบแบบสอบถามเป็นผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้ตอบแบบสอบถามข้อ 1,2,3,4 และ5
กรณีผู้ตอบแบบสอบถามเป็นผู้รับบริการ  ให้ตอบแบบสอบถามข้อ 1,2,3,4 และ 6

ลักษณะการบริการของศูนย์สุขภาพชุมชนท่างาม
ระดับความพึงพอใจ
5
มากที่สุด
4
มาก
3
ปานกลาง
2
น้อย

1
น้อยที่สุด
1. นวัตกรรม ทำให้บริการเกิดความสะดวก และรวดเร็ว





2. นวัตกรรมทำให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีความต่อเนื่องในการให้บริการ





3. นวัตกรรมทำให้บริการเป็นไปตามกำหนดเวลาราชการและ/หรือเวลาที่
    ประกาศ





4. นวัตกรรมทำให้ศูนย์สุภาพชุมชนสื่อสารสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้รับบริการ





5. นวัตกรรมทำให้บริการที่ท่านได้รับจากการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำคบ
    มีคุณภาพ   





6. นวัตกรรมทำให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ ไม่ฟุ่มเฟือย





รวมคะแนน (คะแนนเต็ม 30 คะแนน)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น