name

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำคบ

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ปัญหาสุขภาพที่สำคัญและแนวทางการแก้ไข


4.1 โรคหัวใจหลอดเลือดและเบาหวาน
การวิเคราะห์ปัญหา สถานการณ์โรคความดันโลหิตสูง ปี 2554 อัตราตาย 85.95 : 100,000  ประชากร อัตราป่วย 3,824.67 : 100,000 ประชากร และสถานการณ์โรคเบาหวาน ปี 2554 อัตราตาย 128.92 : 100,000  อัตราป่วย 1,547.06 : 100,000 ประชากร ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี




การดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหา
          โครงการคัดกรองความดันโลหิตสูง และเบาหวาน(verbal screening )
            กิจกรรม
          - ดำเนินการคัดกรอง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มเสี่ยงในทุกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
          - จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้ (Knowledge Management) ผ่านสื่อต่างๆ เช่น วิทยุชุมชน แผ่นพับ และจัดการแลกเปลี่ยนความรู้ในชุมชน

                             ผลที่คาดว่าจะได้รับ
          - ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันโรคอ้วนลงพุง
          - สมาชิกชมรมสร้างสุขภาพได้รับการเฝ้าระวังรอบเอว   เพื่อลดผลกระทบจากโรคอ้วนลงพุงและภัยคุกคามสุขภาพ  

4.2 การป้องกันการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
การวิเคราะห์ปัญหา จากข้อมูลทางระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออก พบว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดโรคไข้เลือดออก และในอดีตเคยพบผู้ป่วยมีอัตราป่วยสูงเกินค่ามัธยฐาน ติดอันดับโรคทางระบาดวิทยาที่ต้องเฝ้าระวัง ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี
การดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหา
            โครงการ  ราษฎร์ รัฐร่วมใจป้องกันภัยไข้เลือดออก            
          กิจกรรม
- จัดอบรมแกนนำชุมชน อสม.เชี่ยวชาญ
- รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ยุงลายทางกายภาพและเคมี
- ให้ความรู้แก่ อสม. นักเรียน  และ ประชาชนทั่วไป 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
            - ลดอัตราป่วยโรคไข้เลือดออก
            - ทุกหมู่บ้านมีการดำเนินการป้องกันโรคล่วงหน้าก่อนฤดูการแพร่ระบาด
            - ไม่เกิด Secondary generation case ในพื้นที่

4.3 การป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง
การวิเคราะห์ปัญหา จากข้อมูลระบาดวิทยาโรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ โรคอุจจาระร่วง มีอัตราป่วยสูงกว่าโรคอื่น ๆ ใน 10 อันดับโรคทางระบาดวิทยาที่ต้องเฝ้าระวัง  และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี

การดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหา
             โครงการอาหารปลอดภัยและคุ้มครองผู้บริโภค                         
          กิจกรรม
- จัดประชุมผู้ประกอบการร้านอาหารประจำปี    
- จัดประชุมผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในตลาด ปีละ 1 ครั้ง        
- สนับสนุนให้มีการขยายผลการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านครัวสะอาดให้ครอบคลุมทุกพื้นที่
- เน้นสุขวิทยาส่วนบุคคล  ปลูกฝังนิสัยการล้างมือ  การใช้ช้อนกลางในการบริโภคอาหารสนับสนุนให้ติดสติ๊กเกอร์ แนะนำวิธีการล้างมือบริเวณอ่างล้างมือในห้องน้ำของร้านอาหารและสถานที่ให้บริการห้องน้ำ
- ให้ความรู้แก่ อสม. และ ประชาชนทั่วไปในการปฏิบัติตัวเบื้องต้นเมื่อป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง การทำน้ำตาลเกลือแร่ด้วยตัวเอง
- ส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการบริโภคอาหารปรุงสุก  สะอาด  ปลอดภัย
            ผลที่คาดว่าจะได้รับ
            - ผู้บริโภค/ประชาชน ได้รับความปลอดภัยจากการบริโภคอาหาร มีความมั่นใจและความพึงพอใจว่าอาหารที่บริโภคมีความปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ              
- ประชาชนมีสุขนิสัยที่ดีในการบริโภคอาหาร
            - ประชาชนสามารถดำเนินงานอาหารปลอดภัยในครัวเรือนตนเองได้
************************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น