name

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำคบ

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การประกวด รพ.สต.ดีเด่นระดับจังหวัด

ภาพกิจกรรม


ป้าย รพ.สต.


ด้านหน้า


ด้านหน้า


ยินดีต้อนรับทุกท่าน


ด้านหน้า


ด้านหน้า


ยินดีต้อนรับครับ/ค่ะ


มุมพัฒนาการ


นวัตกรรมเด่น


จุดจ่ายยา


ตู้เก็บเวชระเบียน


ห้องเวชภัณฑ์


 นโยบายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่



5 ส. 



แผนภูมิโครงสร้าง


ด้านข้าง


ด้านข้าง


ทางเดินด้านข้าง


ห้องน้ำผู้พิการ/สูงอายุ


บ้านพัก


ขอบพระคุณทุกท่านที่เข้าชมครับ

R2R


ความสัมพันธ์คุณลักษณะส่วนบุคคล การรับรู้บทบาทในการปฏิบัติงานตามบทบาท
ของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก

บทคัดย่อ

            จุดมุ่งหมายในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ลักษณะส่วนบุคคลการรับรู้บทบาทในการปฏิบัติงานตามบทบาทของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่    อำเภอวัดโบสถ์     จังหวัดพิษณุโลก  ขอบเขตการศึกษาครั้งนี้ดำเนินการในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบล ในอำเภอวัดโบสถ์ จำนวน 7 กองทุน ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบลที่ปฏิบัติงานอยู่ในช่วงเดือนตุลาคม 2553 ถึง กันยายน 2554 จำนวน 105 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด การทดสอบไคสแคว์ (Chi-Square Test) และการทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์     เพียรสัน (Pearson’s Correlation Coefficient)
            ผลการศึกษา พบว่า คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 41-50 ปี สถานภาพสมรสคู่ รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท ดำรงตำแหน่งกรรมการที่มาจากตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง 2 ปี มีการรับรู้บทบาทระดับสูง ร้อยละ 94.4  ในเรื่องคณะกรรมการฯ ควรพัฒนาทักษะความรู้ในเรื่องการดำเนินงานด้านการสนับสนุนประชาชนให้เข้าถึงบริการสาธารณสุข ร้อยละ 70.48  มีการปฏิบัติงานตามบทบาทในระดับปานกลาง ร้อยละ 51.4  เพศชายมีการปฏิบัติงานตามบทบาทมากกว่าเพศหญิง และเมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามบทบาทของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบล พบว่า คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (P-value = 0.570)

นวัตกรรมเด่น



นวัตกรรม “กิโลชั่งน้ำหนักสำหรับเด็กเล็ก”
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำคบ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก

หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันการเจ็บป่วยในเด็กมีมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นเด็กตามชนบทหรือในเมืองใหญ่ๆ เพราะเด็กมีภูมิร่างกายต่ำและไวต่อการรับโรค โดยเฉพาะโรคระบบทางเดินหายใจ ซึ่งจะเห็นได้ว่าตามสถานบริการด้านสาธารณสุขเกือบทุกแห่งผู้มารับการรักษาจึงเป็นเด็กมากกว่าผู้ใหญ่  และปัญหาที่พบในเด็กคือการขึ้นชั่งน้ำหนักบนกิโล เป็นการยากเพราะเด็กกลัวกิโล โดยเฉพาะเด็กเล็ก ซึ่งมีผลต่อการนำน้ำหนักมาคำนวณขนาดของโด๊สยาสำหรับจ่ายให้เด็กรับประทาน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำคบ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ได้สังเกตเห็นว่าเด็กที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และต้องชั่งน้ำหนักเพื่อบันทึกข้อมูลประวัติส่วนตัวเบื้องต้น เหมือนจะยากลำบากมากเพราะเด็กเกิดความกลัวกิโลชั่งน้ำหนัก  ไม่กล้าขึ้นไปยืนคนเดียวหรือยืนชั่งก็เอนเอียงไปมาทำให้อ่านค่าน้ำหนักลำบาก โดยเฉพาะในวันคลินิกต่างที่เกี่ยวกับเด็ก เช่น การตรวจพัฒนาการเด็ก การฉีดวัคซีนให้ภูมิคุ้มกันโรค และอีกส่วนหนึ่งก็จะเป็นเด็กที่มาด้วยอาการเจ็บป่วย เช่น ไข้ ไอ เจ็บ คอ ทำให้การซักประวัติและบันทึกการตรวจร่างกายของเด็กไม่สะดวกเท่าที่ควร ประกอบกับการให้บริการด้านการรักษาพยาบาลต้องมีการจ่ายยาและคำนวณยาให้เหมาะสมกับน้ำหนักตัวเด็กด้วย ซึ่งถ้าเด็กไม่ได้รับการชั่งน้ำหนักแล้วการรักษาและการจ่ายยาก็จะไม่ถูกต้องตามขนาดของยาที่เด็กควรจะได้รับได้ อาจทำโรคที่เป็นอยู่ไม่หายเป็นปกติและเกิดอาการดื้อยาหรือเกิดผลข้างเคียงอื่นๆที่จะตามมา
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำคบจึงได้คิดค้นนวัตกรรมประยุกต์ใช้กิโลชั่งน้ำหนักทั่วไปชนิดวางกับพื้น เข้ากับของเล่นตัวการ์ตูนที่เป็นม้านั่งและรถนั่งเพื่อให้เด็กชั่งน้ำหนักได้ง่ายขึ้น เป็นการสร้างแรงจูงใจและลดความหวาดกลัว หวาดระแวงของเด็กได้อีกทางหนึ่ง  โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่ากิโลชั่งน้ำหนักสำหรับเด็กนี้ จะเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ช่วยให้ปัญหาการชั่งน้ำหนักในเด็กเล็กหมดไปหรือลดน้อยลง

วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เด็กอยากชั่งน้ำหนัก
2. เพื่อลดความหวาดกลัวของเด็กต่อการขึ้นชั่งกิโลของเด็ก
3. เพื่อให้ง่ายต่อการชั่งน้ำหนักเด็กในชุมชนของเจ้าหน้าที่ และ อสม.

วิธีการดำเนินงาน
วัสดุอุปกรณ์
1. กิโลชั่งน้ำหนักแบบวางกับพื้น
2. ของเล่นเด็กตัวการ์ตูนที่เป็นม้านั่ง รถนั่ง
3. น็อตหรือสกรูขัน
4. เหล็กนิ้ว ยาว 80 เซนติเมตร


สิ่งที่เป็นนวัตกรรม
            ประยุกต์ใช้กิโลช่างน้ำหนักทั่วไปเข้ากับตัวตัวการ์ตูนที่เป็นม้านั่งและรถนั่ง เพื่อให้เด็กชั่งน้ำหนักได้ง่ายขึ้น เป็นการสร้างแรงจูงใจและลดความหวาดกลัวของเด็กไดอีกทางหนึ่ง 

จุดเด่นของนวัตกรรม
            1. เป็นการนำของที่มีใช้อยู่ตามโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น
            2. ลดความหวาดกลัว สร้างแรงจูงใจ และกระตุ้นให้เด็กอยากชั่งน้ำหนักมากขึ้น
           
กิจกรรมการดำเนินงาน (วิธีการใช้)
1.       ให้เด็กขึ้นชั่งกิโลได้ทันที เพราะตุ๊กตาตั้งอยู่บนกิโลอยู่แล้ว โดยให้เด็กนั่งค่อมบนตุ๊กตา แล้วเอาเท้าวางบนกิโลอ่านค่าของกิโลได้เลยไม่ต้องบวกน้ำหนักเพิ่ม
2.       ใช้เฉพาะเด็กที่มีอายุไม่เกิน 4-5 ปี (น้ำหนักไม่เกินน้ำหนักลิมิตของเครื่องชั่ง)
3.       สามารถนำไปชั่งน้ำหนักเด็กในหมู่บ้านได้ หรือใช้ชั่งน้ำหนักเด็กที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในวันคลินิกต่างๆ
4.       เมื่อไม่ต้องการใช้งานสามารถถอดออกจากกิโลได้  และถ้าต้องการใช้ก็สามารถประกอบใหม่ได้ทันที ไม่ยุ่งยาก

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.       เด็กที่กลัวไม่กล้าชั่งน้ำหนักและชั่งยาก ก็สามารถชั่งได้โดยง่ายไม่มีปัญหา
2.       เจ้าหน้าที่ และ อสม.เกิดความสะดวกสบายในการนำไปใช้งานในชุมชน

ผลการดำเนินงาน
จากผลการดำเนินงานพบว่า ผู้ปกครองเด็กส่วนใหญ่มีความพึงพอใจเป็นอย่างมาก ที่เครื่องชั่งชั่งน้ำหนักชนิดนี้สามารถทำให้บุตรหลานของตัวเอง มีความอยากที่จะขึ้นไปนั่งและได้รับการชั่งน้ำหนักที่สะดวกและง่ายต่อการอ่านค่าน้ำหนัก อีกทั้งยังเป็นของเล่นไปในตัว อีกทั้งยังสร้างแรงจูงใจให้เด็กอยากชั่งน้ำหนัก ลดความหวาดกลัวของเด็กต่อการขึ้นชั่งกิโล และง่ายต่อการชั่งน้ำหนักเด็กในชุมชนของเจ้าหน้าที่ และ อสม

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาที่ต่อเนื่อง
1.       ควรให้มีการจัดทำที่วัดส่วนสูงในอุปกรณ์อันเดียวกันเพื่อใช้ค่าในการแปรผลภาวะโภชนาการ
2.       จัดหาอุปกรณ์ของเล่นที่น่าสนใจเช่นรูปสัตว์ ตุ๊กตา มาทำ เพื่อจะได้ให้เกิดความหลากหลายมากขึ้น
3.       ให้ อสม.ในชุมชนจัดทำไว้ประจำหมู่บ้าน เพื่อใช้สำหรับการชั่งน้ำหนักเด็กประจำงวด

สรุปแบบประเมินความพึงพอใจผู้ใช้นวัตกรรม
กิโลชั่งน้ำหนักสำหรับเด็กเล็ก
(…..) ก่อนดำเนินงาน    (../..) หลังดำเนินงาน
วันที่...30 สิงหาคม 2554.....

จำนวนตัวอย่าง  ทั้งหมด 46 ตัวอย่าง
-          ตัวอย่าง ของผู้รับผลงาน จำนวน  46  ตัวอย่าง

ตอนที่ 1          ด้านสถานภาพของผู้กรอกแบบสำรวจ
อายุ เฉลี่ย....42......ปี
อาชีพ ส่วนใหญ่....เกษตรกรรม ร้อยละ  93.52
การศึกษา ส่วนใหญ่........ประถมศึกษา ร้อยละ  89.36

ตอนที่ 2          ด้านความพึงพอใจต่อ นวัตกรรมการให้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำคบ
    
ด้านความพึงพอใจมากที่สุด คือ
อันดับที่ 1        - นวัตกรรมทำให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ ไม่ฟุ่มเฟือย    
  ร้อยละ 96.00
                              - นวัตกรรมทำให้บริการเกิดความสะดวกและรวดเร็ว ร้อยละ 95
อันดับที่ 2        - นวัตกรรมทำให้บริการที่ท่านได้รับจากการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีคุณภาพ
                               ร้อยละ 94.20

ด้านความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ
อันดับที่ 1        - นวัตกรรมทำให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีความต่อเนื่องในการให้บริการ  ร้อยละ 91.72
อันดับที่ 2        - นวัตกรรมทำให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสื่อสารสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้รับบริการ ร้อยละ
  90.47



ผลสรุปความพึงพอใจต่อนวัตกรรม
จากการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจต่อนวัตกรรม กิโลชั่งน้ำหนักสำหรับเด็กเล็ก ของผู้ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2554 ถึง 30 สิงหาคม 2554 โดยมีผู้ตอบ แบบสอบถามจำนวน 46 คน พบว่ามีระดับความพึงพอใจโดยรวม ร้อยละ 93.38


สรุปแบบประเมินความพึงพอใจนวัตกรรม สำหรับผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
  กิโลชั่งน้ำหนักสำหรับเด็กเล็ก
วันที่...30 สิงหาคม 2554.....

จำนวนตัวอย่าง  ทั้งหมด 4  ตัวอย่าง
-          ตัวอย่าง ของผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน  4  ตัวอย่าง

ตอนที่ 1          ด้านสถานภาพของผู้กรอกแบบสำรวจ
อายุ เฉลี่ย....40......ปี
อาชีพ ....รับราชการ  ร้อยละ  100
การศึกษา        1) ปริญญาตรี ร้อยละ  40         2) ปริญญาโท ร้อยละ 60

ตอนที่ 2          ด้านความพึงพอใจต่อ นวัตกรรม ของผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล    
ด้านความพึงพอใจมากที่สุด
อันดับที่ 1        - นวัตกรรมทำให้บริการเกิดความสะดวกและรวดเร็ว   ร้อยละ 100
อันดับที่ 2        - นวัตกรรมทำให้ศูนย์สุขภาพชุมชนสื่อสารสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้รับบริการ ร้อยละ    
                     95.00
- นวัตกรรมทำให้บริการที่ท่านได้รับจากการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีคุณภาพ   
  ร้อยละ 95.00

ด้านความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ
อันดับที่ 1        - นวัตกรรมทำให้บริการเป็นไปตามกำหนดเวลาราชการและ/หรือเวลาที่ประกาศ    
                     ร้อยละ 90.00
อันดับที่ 2        - นวัตกรรมทำให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีความต่อเนื่องในการให้บริการ ร้อยละ 90.00



ผลสรุปความพึงพอใจต่อนวัตกรรม
จากการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจต่อนวัตกรรม กิโลชั่งน้ำหนักสำหรับเด็กเล็ก ของผู้ปฏิบัติในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2554 ถึง 30 สิงหาคม 2554 โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 4 คน พบว่ามีระดับความพึงพอใจโดยรวม ร้อยละ 94.00



แบบสำรวจความพึงพอใจผู้ใช้นวัตกรรม
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำคบ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก

คำชี้แจง
การสำรวจข้อมูลนี้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา นวัตกรรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำคบ โปรดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อันจะนำผลไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการบริการ ให้ก้าวหน้าและเป็นประโยชน์แก่ประชาชนให้มากยิ่งขึ้น
ตอนที่ 1          เป็นการสอบถามข้อมูลในด้านสถานภาพของผู้กรอกแบบสำรวจ
ตอนที่ 2          เป็นแบบสอบถามความพึงพอใจต่อนวัตกรรมการให้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
คะแนนความพึงพอใจแยกเป็น ระดับ คือ
มากที่สุด = 5    มาก = 4         ปานกลาง= 3       น้อย = 2              น้อยที่สุด = 1    

ตอนที่ 1
อายุ………….…………….ปี    อาชีพ……………………………………    การศึกษา……………..........................
สถานภาพ                 (   ) ผู้ปฏิบัติในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล              (   ) ผู้รับบริการ

ตอนที่ 2
โปรดใส่เครื่องหมาย / ในช่องที่ตรงกับความเห็นของท่าน
กรณีผู้ตอบแบบสอบถามเป็นผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้ตอบแบบสอบถามข้อ 1,2,3,4 และ5
กรณีผู้ตอบแบบสอบถามเป็นผู้รับบริการ  ให้ตอบแบบสอบถามข้อ 1,2,3,4 และ 6

ลักษณะการบริการของศูนย์สุขภาพชุมชนท่างาม
ระดับความพึงพอใจ
5
มากที่สุด
4
มาก
3
ปานกลาง
2
น้อย

1
น้อยที่สุด
1. นวัตกรรม ทำให้บริการเกิดความสะดวก และรวดเร็ว





2. นวัตกรรมทำให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีความต่อเนื่องในการให้บริการ





3. นวัตกรรมทำให้บริการเป็นไปตามกำหนดเวลาราชการและ/หรือเวลาที่
    ประกาศ





4. นวัตกรรมทำให้ศูนย์สุภาพชุมชนสื่อสารสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้รับบริการ





5. นวัตกรรมทำให้บริการที่ท่านได้รับจากการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำคบ
    มีคุณภาพ   





6. นวัตกรรมทำให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ ไม่ฟุ่มเฟือย





รวมคะแนน (คะแนนเต็ม 30 คะแนน)



ปัญหาสุขภาพที่สำคัญและแนวทางการแก้ไข


4.1 โรคหัวใจหลอดเลือดและเบาหวาน
การวิเคราะห์ปัญหา สถานการณ์โรคความดันโลหิตสูง ปี 2554 อัตราตาย 85.95 : 100,000  ประชากร อัตราป่วย 3,824.67 : 100,000 ประชากร และสถานการณ์โรคเบาหวาน ปี 2554 อัตราตาย 128.92 : 100,000  อัตราป่วย 1,547.06 : 100,000 ประชากร ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี




การดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหา
          โครงการคัดกรองความดันโลหิตสูง และเบาหวาน(verbal screening )
            กิจกรรม
          - ดำเนินการคัดกรอง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มเสี่ยงในทุกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
          - จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้ (Knowledge Management) ผ่านสื่อต่างๆ เช่น วิทยุชุมชน แผ่นพับ และจัดการแลกเปลี่ยนความรู้ในชุมชน

                             ผลที่คาดว่าจะได้รับ
          - ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันโรคอ้วนลงพุง
          - สมาชิกชมรมสร้างสุขภาพได้รับการเฝ้าระวังรอบเอว   เพื่อลดผลกระทบจากโรคอ้วนลงพุงและภัยคุกคามสุขภาพ  

4.2 การป้องกันการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
การวิเคราะห์ปัญหา จากข้อมูลทางระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออก พบว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดโรคไข้เลือดออก และในอดีตเคยพบผู้ป่วยมีอัตราป่วยสูงเกินค่ามัธยฐาน ติดอันดับโรคทางระบาดวิทยาที่ต้องเฝ้าระวัง ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี
การดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหา
            โครงการ  ราษฎร์ รัฐร่วมใจป้องกันภัยไข้เลือดออก            
          กิจกรรม
- จัดอบรมแกนนำชุมชน อสม.เชี่ยวชาญ
- รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ยุงลายทางกายภาพและเคมี
- ให้ความรู้แก่ อสม. นักเรียน  และ ประชาชนทั่วไป 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
            - ลดอัตราป่วยโรคไข้เลือดออก
            - ทุกหมู่บ้านมีการดำเนินการป้องกันโรคล่วงหน้าก่อนฤดูการแพร่ระบาด
            - ไม่เกิด Secondary generation case ในพื้นที่

4.3 การป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง
การวิเคราะห์ปัญหา จากข้อมูลระบาดวิทยาโรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ โรคอุจจาระร่วง มีอัตราป่วยสูงกว่าโรคอื่น ๆ ใน 10 อันดับโรคทางระบาดวิทยาที่ต้องเฝ้าระวัง  และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี

การดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหา
             โครงการอาหารปลอดภัยและคุ้มครองผู้บริโภค                         
          กิจกรรม
- จัดประชุมผู้ประกอบการร้านอาหารประจำปี    
- จัดประชุมผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในตลาด ปีละ 1 ครั้ง        
- สนับสนุนให้มีการขยายผลการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านครัวสะอาดให้ครอบคลุมทุกพื้นที่
- เน้นสุขวิทยาส่วนบุคคล  ปลูกฝังนิสัยการล้างมือ  การใช้ช้อนกลางในการบริโภคอาหารสนับสนุนให้ติดสติ๊กเกอร์ แนะนำวิธีการล้างมือบริเวณอ่างล้างมือในห้องน้ำของร้านอาหารและสถานที่ให้บริการห้องน้ำ
- ให้ความรู้แก่ อสม. และ ประชาชนทั่วไปในการปฏิบัติตัวเบื้องต้นเมื่อป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง การทำน้ำตาลเกลือแร่ด้วยตัวเอง
- ส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการบริโภคอาหารปรุงสุก  สะอาด  ปลอดภัย
            ผลที่คาดว่าจะได้รับ
            - ผู้บริโภค/ประชาชน ได้รับความปลอดภัยจากการบริโภคอาหาร มีความมั่นใจและความพึงพอใจว่าอาหารที่บริโภคมีความปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ              
- ประชาชนมีสุขนิสัยที่ดีในการบริโภคอาหาร
            - ประชาชนสามารถดำเนินงานอาหารปลอดภัยในครัวเรือนตนเองได้
************************************

ประชากร

จำนวนและร้อยละของประชากร จำแนกตามอายุและเพศ ปี 2555



กลุ่มอายุ
(ปี)
เพศชาย
เพศหญิง
รวม
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
ต่ำกว่า 1 ปี
19
0.52
13
0.35
32
0.87
1 – 2
42
1.15
34
0.93
76
2.07
3 – 4
46
1.25
31
0.85
77
2.10
5 – 9
95
2.59
104
2.84
199
5.43
10 – 14
113
3.08
116
3.16
229
6.24
15 – 19
151
4.12
130
3.54
281
7.66
20 – 24
114
3.11
129
3.52
243
6.62
25 – 29
119
3.24
115
3.14
234
6.38
30 – 34
108
2.94
143
3.90
251
6.84
35 – 39
149
4.06
158
4.31
307
8.37
40 – 44
150
4.09
166
4.53
316
8.62
45 – 49
159
4.33
180
4.91
339
9.24
50 – 54
126
3.44
141
3.84
267
7.28
55 – 59
79
2.15
107
2.92
186
5.07
60 – 64
78
2.13
102
2.78
180
4.91
65 – 69
85
2.32
67
1.83
152
4.14
70 – 74
55
1.50
65
1.77
120
3.27
75 ปีขึ้นไป
77
2.10
102
2.78
179
4.88
รวม
1,765
48.12
1,903
51.88
3,668
100.00





ปิรามิดประชากร รพ.สต.บ้านน้ำคบ จำแนกตามกลุ่มอายุ ปี 2555